โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซีประเทศไทยจัดฉายภาพยนตร์ชื่อดังระดับโลก “SCREENAGERS” ให้ผู้ปกครองในภูเก็ตรับชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

5 ตุลาคม2561 : โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซีประเทศไทย (UWCT) ตอกย้ำพันธกิจที่จะช่วยเหลือนักเรียนผู้ปกครองและชุมชนในการสร้างสรรค์ ‘หัวใจดีจิตใจสมดุลร่างกายแข็งแรง’ด้วยการจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง ‘Screenagers’ ที่ได้รับการยกย่องในระดับนานาชาติแก่ครอบครัวในเกาะภูเก็ตในวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายนเวลา 8:30 น. โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

 

ในภาพยนตร์ ‘Screenagers’ นั้นดอกเตอร์เดลานีย์รัสตันแพทย์และผู้สร้างภาพยนตร์ใช้วิธีเดียวกับในสารคดีด้านสุขภาพจิตที่เธอได้รับรางวัลด้วยการใช้มุมมองของตัวเธอเองเพื่อศึกษาความเปราะบางของชีวิตครอบครัวรวมถึงชีวิตครอบครัวของเธอเองและพิจารณาถึงการต้องรับมือกับอาการเสพติดโซเชียลมีเดียวิดีโอเกมการศึกษาและอินเทอร์เน็ต ‘Screenagers’ เล่าเรื่องราวที่แหลมคมแฝงความขบขันพร้อมด้วยมุมมองน่าสนใจที่คาดไม่ถึงจากผู้เขียนนักจิตวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ด้านสมองเผยให้เห็นผลกระทบของยุคเทคโนโลยีที่มีต่อพัฒนาการของเด็กและเสนอทางออกว่าผู้ใหญ่จะเติมเต็มศักยภาพของเด็กๆอย่างไรเพื่อให้พวกเขามีความพร้อมที่จะเผชิญโลกดิจิทัลและแสวงหาความสมดุลในชีวิต

 

“ใครก็ตามที่มีเด็กอยู่ในชีวิตจำเป็นต้องดูภาพยนตร์เรื่องนี้และจริงๆแล้วยังเป็นประโยชน์สำหรับผู้ใหญ่ที่ต้องสู้กับเทคโนโลยียุคปัจจุบันที่รุกล้ำเข้ามาในชีวิตของเราอีกด้วยเรามีความยินดีที่สามารถจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเนื่องจากเราได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากกลุ่มสนับสนุนผู้ปกครองของเรา”เจสันแมคไบรด์อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนนานาชาติ ยูดับเบิลยูซีประเทศไทยกล่าว

 

แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ใช่แค่เส้นทางชีวิตของรัสตันเท่านั้นเนื่องจากเธอได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญกว่าแปดคนในหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสมองแบบบูรณาการที่ SeattleChildren’s ResearchInstitute ไปจนถึงนักเขียนที่ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลพูลิตเซอร์

 

ภาพยนตร์เรื่องนี้เผยถึงสถิติชวนคิดหลายประการเช่นเยาวชนในปัจจุบันใช้เวลาเฉลี่ย 6.5 ชั่วโมงต่อวันในการดูหน้าจอเด็กๆที่อยู่ในโลกออนไลน์ 23% มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตและทุกหนึ่งชั่วโมงที่เด็กรับชมโทรทัศน์ต่อวันจะมีการบริโภคเพิ่มขึ้นมา 167 แคลเลอรี่นอกจากนี้สารโดพามีนที่ปล่อยออกจากสมองระหว่างเวลาที่ดูหน้าจอนั้นเหมือนกันกับที่มาจากพฤติกรรมที่สร้างนิสัยแบบอื่นๆเช่นการดื่มสุรา

 

“ผลการวิจัยยืนยันว่ายิ่งเด็กนักเรียนใช้เวลากับอุปกรณ์ต่างๆมากเท่าใดก็จะยิ่งมีโอกาสที่จะทำการบ้านไม่เสร็จและมีผลการเรียนไม่ดีแต่ในฐานะสถานศึกษาเราไม่ได้กังวลแค่เรื่องผลกระทบทางวิชาการแต่ยังรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาวะทางร่างกายด้วย”แมคไบรด์อธิบาย

 

“พวกเราที่ยูดับเบิลยูซีประเทศไทยเราพยายามรับมือกับปัญหานี้ด้วยการพัฒนาสติการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพการออกกำลังกายและการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดีแต่อุปกรณ์ต่างๆมีการรุกล้ำเข้ามาในชีวิตของเรามากขึ้นและผลที่เกิดขึ้นกับสุขภาพจิตของเยาวชนนั้นเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่งในฐานะนักการศึกษาและผู้ปกครองเราจำเป็นต้องลงมือแก้ไข”

 

การศึกษาวิจัยโดย Royal Society of Public Health ของสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ.2560พบว่าวัยรุ่นเจ็ดในสิบคนบอกว่าInstagramทำให้พวกเขารู้สึกแย่ลงเกี่ยวกับภาพลักษณ์เกี่ยวกับร่างกายของตนและครึ่งหนึ่งของเยาวชนอายุ 14 ถึง 24 ปีกล่าวว่าInstagramและFacebookทำให้เขามีความรู้สึกวิตกกังวลเพิ่มขึ้นเยาวชนสองในสามเห็นว่า Facebook ทำให้การกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตเลวร้ายขึ้นที่น่ากังวลยิ่งกว่านั้นก็คือคนที่เลิกติดต่อปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัวแต่หันไปมีชีวิตในโลกดิจิทัลแทนไม่ยอมที่จะสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นๆและไม่สามารถวางอุปกรณ์ได้

 

“นี่คือความท้าทายสำหรับเด็กรุ่นลูกของพวกเราและเป็นความท้าทายที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันสำหรับผู้ปกครองในปัจจุบันไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ไหนหรือลูกๆเรียนที่โรงเรียนใดในฐานะนักการศึกษาเรามีหน้าที่ต้องช่วยให้ครอบครัวสามารถรับมือกับโจทย์ยากในสภาวการณ์ของโลกดิจิทัลนี้ให้ได้สำหรับโรงเรียนยูดับเบิลยูซีประเทศไทยนี่คือพันธกิจอันจริงจังต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลโดยจัดให้มีช่วงเวลาฝึกการเป็นผู้ปกครองที่มีสติที่ศูนย์เรียนรู้การฝึกสติในโรงเรียนของเราจัดการสัมมนาโดย AlanWallace นักปรัชญาศาสนาพุทธผู้มีชื่อเสียงเป็นระยะเวลาสองวันนับจากวันที่ 17 พฤศจิกายนโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับชุมชนชาวภูเก็ตและจัดพื้นที่ฉาย ‘Screenagers’ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายสำหรับผู้สนใจปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหา “วัยรุ่น”หรือปัญหาของ “โรงเรียน”แต่เป็นปัญหาของ “ทุกคน”

 

เพื่อให้สามารถจัดเตรียมที่นั่งชาวภูเก็ตที่สนใจร่วมกิจกรรมโปรดติดต่อโรงเรียนโดยตรงที่rsvp@uwcthailand.ac.th โปรดทราบว่าพื้นที่มีจำกัด