พิธีเปิดกิจกรรม “สัมมนาเชื่อมโยงการตลาดผลไม้อัตลักษณ์จังหวัดนราธิวาส”

ในภาพอาจจะมี 7 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังยืน

งาน “สัมมนาเชื่อมโยงการตลาดผลไม้อัตลักษณ์จังหวัดนราธิวาส” กิจกรรมการจัดงานในวันนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ฤดูกาลผลิตไม้ผลจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๒ ซึ่งมีไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ลองกอง เงาะ มังคุด และทุเรียน โดยเฉพาะลองกองซึ่งถือเป็นไม้ผลเศรษฐกิจประจำถิ่นที่สำคัญ และมีแหล่งกำเนิดอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส พบครั้งแรก ณ บ้านซีโป ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ดินแดนปลายด้ามขวานของประเทศไทย ลองกองมีคุณลักษณะเด่นเฉพาะ คือ เมื่อผลสุกผิวจะเป็นสีเหลืองทอง ไม่มียาง เนื้อใสเป็นแก้ว เนื้อแห้ง เมล็ดลีบเล็ก จนถึงไม่มีเมล็ด รสชาติหวานและมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน เนื้อที่ปลูกลองกองของจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๒ มีพื้นที่จำนวน ๔๓,๓๙๖ ไร่ โดยคาดการณ์ในปี ๒๕๖๒ ผลผลิตลองกองจะมีประมาณ ๑๓,๖๖๗ ตัน ซึ่งผลผลิตเริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ต้นปลายเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป ผลผลิตจะมีปริมาณมากในช่วงกลางเดือนกันยายนและสิ้นสุดต้นเดือนพฤศจิกายน

ในภาพอาจจะมี อาหาร

นอกจากผลผลิตไม้ผลเศรษฐกิจประจำจังหวัด ได้แก่ ลองกอง ทุเรียน มังคุดและเงาะแล้ว การจัดงานครั้งนี้จะมีผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านและวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดนราธิวาส มาจำหน่ายด้วย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ข้าว ข้าวซ้อมมือ ข้าวหอมกระดังงา ผลิตภัณฑ์แปรรูปลองกอง ทุเรียนกวน สละอินโด ลูกหยี  ผ้าปาเต๊ะ เป็นต้น การจัดงานจะมีผลผลิตมาจำหน่ายตลอดงาน ตั้งแต่วันนี้ จนถึง วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๒ การจัดงาน “สัมมนาเชื่อมโยงการตลาดผลไม้อัตลักษณ์จังหวัดนราธิวาส” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้

– เพื่อการประชาสัมพันธ์ฤดูกาลผลไม้ของจังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๖๒ สู่พื้นที่อันดามันและจังหวัดใกล้เคียง

– เพื่อให้ลองกองจังหวัดนราธิวาสเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น รวมทั้งไม้ผลเศรษฐกิจอื่น ๆ ของจังหวัดนราธิวาส เช่น เงาะอำเภอสุคิริน ทุเรียนหมอนทองอำเภอศรีสาคร สละอินโดอำเภอตากใบ  มังคุดแปลงใหญ่จังหวัดนราธิวาส เป็นต้น

– เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านและวิสาหกิจชุมชนของจังหวัดนราธิวาสเป็นที่รู้จัก สามารถขยายช่องทางการตลาดในพื้นที่ต่างจังหวัดได้

– เพื่อเปิดเวทีเจรจาธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไม้ผล กับผู้ผลิตไม้ผลของจังหวัดนราธิวาสโดยตรง ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ผลิต ผู้ประกอบการและผู้บริโภคในระยะยาว

ส่งเสริมการผลิตไม้ผลคุณภาพของเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อเสริมสร้างรายได้และความมั่นคงทางอาชีพอย่างยั่งยืน

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังยืน และสถานที่ในร่ม