ภูเก็ตประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำ วางแผนบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภค

ภูเก็ตประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำ วางแผนบริหารจัดการน้ำอุปโภคบริโภคแบบบูรณาการทุกภาคส่วน พร้อมขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำ

วันนี้ 8 พฤศจิกายน 2562 เวลา 13:30 น.ณ ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตเป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดแบบบูรณาการครั้งที่ 1/2562 โดยมีคณะอนุกรรมการฯ หัวหน้าส่วนราชการภาครัฐ/เอกชนและผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วม

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง

นายวงศกร วงศ์ชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการ จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าจังหวัดภูเก็ตให้ความสำคัญกับการวางแผนบริหารจัดการน้ำจึง ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดแบบบูรณาการที่ 4758/2562 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 และ แต่งตั้งคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำ ระดับอำเภอแบบบูรณาการ ที่ 4759/2562 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 เพื่อจัดทำแผนแม่บทการใช้การบริหารจัดการและจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้งแก้ไขปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคไม่เพียงพอรวมถึงการบูรณาการการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

เพื่อป้องกันน้ำแล้งในช่วงฤดูแล้งทั้งนี้ในภาคส่วนต่างๆได้มีการประมวลข้อมูลแหล่งน้ำดิบและปริมาณน้ำที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต้องการใช้ จากนั้นนำมาวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ปัญหาเพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อความต้องการบริโภค อย่างไรก็ตามขอฝากประชาสัมพันธ์ถึงพี่น้องประชาชนให้ช่วยกันประหยัดน้ำเพื่อจะได้มีน้ำไว้ใช้ตลอดปี

ด้านนางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ในช่วงที่จังหวัดภูเก็ตประสบปัญหาขาดช่วงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการจัดทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่องโดยขณะนี้ยังมีการทำฝนเทียม ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ระหว่างวันที่ 5 ถึง 15 พฤศจิกายน 2562

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และสถานที่ในร่ม

จากนั้น นายสมสวัสดิ์ ฉายสินสอน ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน ได้นำเสนอประมาณการข้อมูลปริมาณความต้องการใช้น้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยคำนวณจากฐานข้อมูลจำนวนประชากรตามทะเบียนราษฎร์,ประชากรแฝงและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาท่องเที่ยว โดยคำนวณจากฐานประชากร 1 คนใช้น้ำ 250 ลิตรต่อวันต่อคน ได้ข้อมูลที่สำคัญดังนี้ 1.กลุ่มประชากรตามทะเบียนราษฎร์ของจังหวัดภูเก็ตจำนวน 394,000 คน จะใช้น้ำประมาณ 17,264,602 ลูกบาศก์เมตรต่อปี 2. กลุ่มประชากรแฝงประมาณ 1,000,000 คนจะใช้น้ำประมาณ 43,800,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และ 3. กลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีจำนวน 13-14 ล้านคนต่อปีจะใช้น้ำประมาณ 10,060,290 ลูกบาศก์เมตรต่อปี รวมทั้ง 3 กลุ่มจะใช้น้ำประมาณปีละไม่ต่ำกว่า 71 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งสอดคล้อง ข้อมูลการใช้น้ำในปี 2561 ซึ่งพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีการใช้น้ำโดยภาพรวมไม่ต่ำกว่า 80 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, ผู้คนกำลังนั่ง, ตาราง และสถานที่ในร่ม

โอกาสนี้ที่ประชุมได้มีการนำเสนอข้อมูลโครงการวิจัยเพื่อบริหารจัดการน้ำจังหวัดภูเก็ต ซึ่งคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต ได้ทำโครงการวิจัยเพื่อบริหารจัดการน้ำจังหวัดภูเก็ตซึ่งดำเนินการในปี 2560 และปี 2561 โดยผลการดำเนินการได้ข้อมูลดังนี้ ปี 2560 และปี 2561 ได้ดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำผิวดิน ได้จำนวน 111 แห่งอยู่ในอำเภอถลาง 42 แห่งอำ,เภอกะทู้ 33 แห่งอำเภอถลาง 64 แห่ง และจากการประมาณการจำนวน 34 แห่ง โดย รวม 145 แห่ง มีปริมาตรความจุรวม 42,645,343.75 ลูกบาศก์เมตร พร้อมทั้งทำการประมวลข้อมูลปริมาตรของแหล่งน้ำ,ติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำแบบชลมาศและติดตั้งระบบแสดงผลข้อมูลแหล่งน้ำจังหวัดภูเก็ตด้วย และการศึกษาพบว่า ปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตมีความต้องการใช้น้ำประมาณ 80 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

ในภาพอาจจะมี 2 คน, ผู้คนกำลังนั่ง

และมีต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นทุกปีจึงทำให้น้ำอาจไม่เพียงพอต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ 1 ครัวเรือนจะใช้น้ำเฉลี่ย 0.28 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน พื้นที่ใช้น้ำมากที่สุด คือ ในตำบลสาคู,ตำบลกะทู้,ตำบลป่าตอง,ตำบลตลาดใหญ่และตำบลตลาดเหนือ โดยพบว่าในช่วงฤดูแล้งจะก่อให้เกิด มูลค่าความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจากภัยแล้งคิดเป็นค่าความเสียหายประมาณ 15,300 ล้านบาทคิดเป็น 0.1 ของ GDP ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อการท่องเที่ยว (ที่มาข้อมูล:ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 2562) จากข้อมูลดังกล่าวนำไปสู่การกำหนด โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต นำไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาดังนี้

ในภาพอาจจะมี 1 คน, กำลังนั่ง, คอมพิวเตอร์แล็ปท็อป และสถานที่ในร่ม

แผนพัฒนาศักยภาพแหล่งน้ำระยะที่ 1 (ภายใน 1 ปี) ดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำใต้ดินที่มีศักยภาพเพื่อทำการผลิตน้ำใต้ดิน / ประเมินข้อมูลน้ำขุมเหมืองเพื่อประสานเจ้าของขุมเหมืองสำหรับผลิตน้ำเพื่อใช้สอย

แผนพัฒนาศักยภาพแหล่งน้ำระยะกลาง (ภายใน 3 ปี) ดำเนินการส่งเสริมและดำเนินการโครงการธนาคารน้ำในตำบล/สร้างแพลตฟอร์มและชุดข้อมูลของน้ำเพื่อใช้สำหรับวางแผนกำหนดนโยบายและบริหารจัดการน้ำในจังหวัดด้วยปัญญาประดิษฐ์

แผนพัฒนาศักยภาพแหล่งน้ำระยะยาว (มากกว่า 5 ปี)
ศึกษาและดำเนินการผลิตน้ำอุปโภคและบริโภคจากน้ำทะเล (Desalinization Water project) ปรึกษาและดำเนินการสำรวจคุณภาพน้ำ สำหรับการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ (Water Recycle project) และศึกษาและดำเนินการเติมน้ำลงเพื่อเก็บน้ำใต้ดิน (Artificial Recharge project)

สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับหากมีการดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต จะทำให้การจัดการน้ำอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ และสามารถกำหนดแนวทางป้องกันและทิศทางการใช้น้ำของจังหวัดภูเก็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพทรัพยากรน้ำมีใช้อย่างเพียงพอและยั่งยืน ประชาชนในพื้นที่มีความสุขนักท่องเที่ยวพึงพอใจเป็นที่ยกย่องในระดับชาติและนานาชาติ นอกจากผู้แทนจากหอการค้าจังหวัดภูเก็ต ได้มีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางแผน สร้างความมั่นคง และหาวิธีการ บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของ พี่น้องประชาชน ภาคเอกชน ผู้ประกอบการและ นักท่องเที่ยว

โอกาสนี้ผู้แทนจาก สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สนทช.) ขอให้จังหวัดภูเก็ตจัดทำแผนความต้องการใช้น้ำในแต่ละเดือนเพื่อนำเสนอให้สนทช.ที่จะมีการประชุมการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก  ในวันที่ 4 ธันวาคม 2562 ทั้งนี้ ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตลงนามจัดส่งโครงการที่จะขอรับงบการสนับสนุนประมาณการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดภูเก็ตโดยให้เรียงตามลำดับความสำคัญของโครงการด้วย