แควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ย้อนยุคนวัตกรรมตลอดหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มฉายในห้องโดยสาร 1 มีนาคมเป็นต้นไป

ซิดนีย์ 26 กุมภาพันธ์ 2563 เพื่อฉลองโอกาสดำเนินงานครบ 100 ปี ในปีนี้ สายการบินแควนตัสเปิดตัววิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ (https://youtu.be/rLq8if1nkTM) ย้อนสู่อดีตยุค ’80 และ ’70 เรื่อยไปจนเข้าสู่ช่วงปี 1940 ที่ให้บริการด้วยเครื่องบินที่สามารถแล่นลงน้ำได้ และช่วงปี 1920 ที่ให้บริการด้วยเครื่องบินแบบใบพัด โดยผู้เล่นวิดีโอเป็นลูกเรือของสายการบินที่ปฏิบัติงานในปัจจุบัน มีการรังสรรค์ฉากทั้งห้องโดยสารภายในเครื่องบินและภายในอาคาร (เทอร์มินัล) ที่สนามบินย้อนกลับไปอยู่ในยุคนั้นๆ

 

มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหารแควนตัสกรุ๊ป เผยว่า “วิดีโอความปลอดภัยเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารเรื่องความปลอดภัยที่จำเป็นสำหรับผู้โดยสารแควนตัส 55 ล้านคนทุกปี แม้ว่าจะเคยชมหลายครั้งแต่ก็สามารถดึงดูดความสนใจได้ โดยจะเริ่มเปิดฉายในห้องโดยสารเส้นทางบินต่างประเทศและเส้นทางภายในประเทศออสเตรเลีย 1 มีนาคมศกนี้เป็นต้นไป โดยวิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่นี้จะพาผู้โดยสารย้อนกลับไปสู่อดีตทั้งเครื่องบิน การบริการภายในห้องโดยสาร ชุดยูนิฟอร์ม ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์อันยาวนาน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สายการบินและบุคลากรได้สรรสร้างให้กับวงการการบิน  รวมถืงนวัตกรรมแพสไลด์และบทบาทในการเชื่อมประเทศออสเตรเลียไปทั่วโลก”

 

“เป็นเรื่องที่น่ายกย่องอย่างยิ่งสำหรับบุคลากร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ และนวัตกรรมการบินของเราที่มีอยู่ต่อเนื่องตลอดระยะเวลาการดำเนินงาน 100 ปี แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยคือความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยของเรา”

 

วิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ถ่ายทอดเรื่องราวเครื่องบิน แฟชั่นและพัฒนาการการบินตั้งแต่ช่วงปี 2463 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน บางฉากรังสรรค์จากเรื่องจริง ส่วนฉากอื่นๆ สร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์เพื่อให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง เช่น เครื่องบิน Avro 504 และเครื่องบิน De Havilland 86 ในช่วงปี 2473 

 

ทีมโปรดักชั่นใช้เวลานานหลายเดือนในการผลิตวิดีโอความปลอดภัยชุดใหม่ ทั้งหาข้อมูลจากไฟล์เก่าๆ ของประเทศออสเตรเลีย พิพิธภัณฑ์การบิน ใช้ภาพและสิ่งประดิษฐ์จากคอลเล็กชั่นของแควนตัสเฮริเทจ เช่น เสื้อชูชีพ ผนังจากเครื่องบินเก่าที่ปลดระวางไปแล้วที่ได้จากทะเลราบโมเจพ  เพื่อให้แต่ละฉากมีความครบถ้วนสมบูรณ์ ส่วนซาวด์แทร็กใช้เพลงสไตล์แจ๊สออสเตรเลียฝีมือการเล่นดนตรีเครื่องเป่าของเจมส์ มอร์ริสัน โดยในวิดีโอเป็นเพลงชาติ I Still Call Australia Home ที่แต่งโดยปีเตอร์ อัลเลน ที่ปรับสไตล์ของดนตรีให้เข้ากับยุคต่างๆ  

 

พนักงานสายการบินแควนตัสปัจจุบันที่อยู่ในฉากประวัติศาสตร์กับอแลสแตร์ ฟิช หลานของเซอร์ฮัดสัน ฟิช ผู้ร่วมก่อตั้งสายการบินแควนตัส ถือเป็นเพชรเม็ดงามอย่างมาก นอกจากนั้นยูนิฟอร์มพนักงานมาจากคอลเล็กชั่นของสายการบินแควนตัส และลูกเรือที่เกษียณไปแล้ว ส่วนชุดอื่นๆ มาจากชุดส่วนตัวและร้านค้าของชุมชนต่างๆ ในภูมิภาค

 

(Image library

 

เบื้องหลังงานสร้างสรรค์วิดีโอความปลอดภัยหนึ่งศตวรรษ

ใช้เวลาในการผลิตนานถึง 12 เดือน

วิดีโอความปลอดภัยชุดล่าสุดใช้เวลาผลิต 12 เดือน ทั้งงานด้านการพัฒนา การทำพรี-โปรดักชั่นถ่ายทำวิดีโอในสถานที่ต่างๆ ที่ลองรีช อ่าวโรสที่ซิดนีย์ พิพิธภัณฑ์ฮาร์ส (HARS) ในวูลองกอง เมลเบิร์น สนามบินบริสเบน และบึงสีชมพูในทะเลสาบฮัทท์ในรัฐออสเตรเลียตะวันตกนานกว่า 3 สัปดาห์ 

 

ภาพสมบูรณ์

ห้องโดยสารแต่ละห้องและฉากที่สร้างขึ้นเป็นการคัดลอกจากต้นฉบับที่เป็นภาพถ่ายและรายละเอียดที่ได้จากคอลเล็กชั่นของแควนตัสเฮริเทจ เช่น

 

  1. ผนังของห้องโดยสารด้านบนช่วงปี 2513 เอามาจากเครื่องบินโบอิ้ง 747-200 ที่ปลดระวางแล้วในทะเลทรายโมเจพที่ส่งมาทางเครื่องบินไปยังซิดนีย์เพื่อช่วยเสริมในห้องพักรับรองผู้โดยสารกัปตันคุ้ก โดยแควนตัสได้ให้อินสไตล์ อินทีเรีย ฟินิชเชส (Instyle Interior Finishes) ผลิตเฟอร์นิเจอร์ส่วนรับรองผู้โดยสารสำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 ให้เป็นแนวสีสดใสที่อยู่ในช่วงปี 2513
  2. แพทเทิร์นดอกไม้ป่าออสเตรเลียแบบดั้งเดิมบนผนังเครื่องบินโบอิ้ง 707
  3. ชุดชาเดิมตั้งแต่ช่วงปี 2483
  4. เสื้อชูชีพของเดิมจากอ่าวโรสในฉากช่วงปี 2473  ซึ่งในช่วงนี้มีเหลืออยู่เพียง 2 ตัวเท่านั้น 
  5. ใช้อาร์ตเวิร์คและภาพวาดต้นฉบับเดิมจากสตูดิโดบาลารินจิ (Balarinji) ที่มีดีไซน์เป็นแนวอะบอริจิ้น มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สร้างภาพเครื่องบินโบอิ้ง 747 วูนาร่าดรีมมิ่งขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

 

เสื้อผ้าและของในฉาก

  1. นอกเหนือจากเสื้อผ้าจาก ลองรีช เซนต์ วินเซนต์ เดอ พอล (Longreach St Vincent de Paul) ในลองรีชแล้ว ยังมีการนำเสื้อผ้าจากร้านค้าในเมืองเล็กๆ มาใส่ประกอบในฉากช่วงปี 2523 ที่มีการทำเหมืองด้วย
  2. ยูนิฟอร์มที่สวมใส่เป็นยูนิฟอร์มเดิม มีการนำเอาวิกผมมาใช้ 50 อัน และหนวดปลอมอีก 30 อัน เพื่อให้เข้ากับฉากและยุคสมัยนั้นๆ  

 

การสร้างสไลด์

ฉากเปิดซีนแรกที่เป็นเครื่องบิน  Avro 504 มาจากพิพิธภัณฑ์แควนตัส (Qantas Founders Museum) ในลองรีชที่ได้อนุญาตให้นำเครื่องบินออกจากส่วนแสดงนิทรรศการไปยังลานบิน โดยผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ทำงานร่วมกับวิศวกรในการดีไซน์และสร้างแพสไลด์เพื่อให้สามารถนำออกจากฐานถาวรและย้ายไปยังลานจอดโดยไม่มีความเสียหายแต่อย่างใด

 

เพลงประกอบ

ซาวด์แทร็กสร้างสรรค์โดยบรู๊ซ ฮีลด์ จาก น๊อยซ์ อินเตอร์ชั่นแนลซึ่งทำเพลงต้นฉบับแคมเปญ I Still Call Australia Home ต่างๆ ให้สายการบินแควนตัส โดยเจมส์ มอร์ริสันเล่นแซกซโฟน แตร และแตรยาว

 

เครดิต

เอเจนซี่: Brand + Story 

โปรดักชั่น : Positive Ape

ซาวด์แทร็ก: โดยบรู๊ซ ฮีลด์ จาก น๊อยซ์ อินเตอร์ชั่นแนลสำหรับเพลงของเจมส์ มอร์ริสัน

ซีจีไอ: White Chocolate ในซิดนีย์

เสื้อผ้า: เมลิซา รัทเทอร์ฟอร์ด

 

เสนอข่าวในนามแผนกประชาสัมพันธ์ สายการบิน แควนตัส โดย บริษัท ออน ทรี คอมมิวนิเคชั่น  จำกัด 

รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อ เกษมศรี แก้วธรรมชัย  08 1 611 4696   อีเมล  kasemsri@on3communication.com