Phuket’s First Purpose-Built School Mindfulness Centre Opens at UWC Thailand

AUG 27, 2018: UWC Thailand (UWCT) welcomed its community back last week with a brand-new addition to its campus: a purpose-built, student-centric Mindfulness Centre. As the island’s leader in mindfulness-based education, the addition – intentionally situated at the school’s main entrance – was well-received by students, staff and parents alike.

“Mindfulness is integral to a UWCT education, and has been an ongoing focus since the school was founded in 2008. When deciding where to locate the new centre, we chose the entrance of the school so that it would be the first thing guests at UWCT encountered and enquired about,” explained Jason McBride, UWCT’s Head of School. “It highlights our commitment to integrating mindfulness into campus life with a dedicated space for practicing.”

The centre is used each day for secular mindfulness practice by classes ranging from Nursery to Grade 12, where students explore how to ‘pay attention to the present moment, on purpose, with kindness and curiosity,’ with the school’s Mindfulness Mentor Kru Lucy Keller. UWCT’s boarding students also use the space for meditation and yoga in the evenings to ready themselves for a restorative night’s sleep.

“With mindfulness, students learn to give themselves the breathing room they require to take in what’s happening in and around them, see it more clearly through a positive lens, and react more intentionally. By being curious about, and attending to, present moment experiences students learn about their reactions, patterns, and themselves. They begin to understand that they have a choice and can take space to respond rather than react to everyday stresses. Mindfulness also supports students in developing self-compassion and through this, compassion for others,” said Keller.

In fact, Daniel Goleman and Richard. J. Davidson’s recently published book ‘Altered Traits-Science Reveals How Meditation Changes Your Mind, Brain and Body’ finds that there are five main ways mindful meditation impacts us in a positive way when practiced over time: it improves our resilience to stress, increases our compassion for others, improves attention and focus, increased selflessness, and a variety of health benefits including increased pain tolerance, reduced inflammation and cortisol, as well as an increase in an enzyme called telomerase known to increase cell life.

Mindfulness at UWCT goes beyond the students and is embedded into how the school’s teachers teach. It requires staff to be grounded in present moment awareness with an attitude of non-judgment, kindness, and curiosity. UWCT staff learn this first by participating in mindfulness training under the guidance of Keller and others through ongoing staff sessions. Teachers are encouraged to spread mindfulness throughout the day with short moments of stillness where relevant, particularly before and after special events, challenging news, testing or exams.

To assist in this endeavour, Keller co-plans with the teaching staff to help them look at other subject areas through a mindful lens. While during mock and final exams, students receive an exam along with a mindfulness schedule, where pre- and post-exam meditations of five and fifteen minutes take place to calm nerves and increase focus and then let go of any residual post-test stress.

While Keller is delighted to have the centre as a place to teach, her role is to ensure mindfulness is happening everywhere on campus, whenever needed throughout the day. One way this is done is through the practice of a morning “Time In” session in the secondary school and through ‘Morning Meetings’ in the Primary school.

Keller explained: “‘Time In’ is an invitation to pause, and pay attention with kindness and curiosity to things as they are.’ This is an ideal way to set the tone in creating a positive and productive learning environment by allowing students time to be present, self-aware and reflective. By training attention in this way, they create the space needed to be able to see more clearly and make more intentional decisions about how they move forward in their day. This is not only supportive to their own well-being and learning but also impacts the whole community as kindness is at the core mindfulness.

The practice of a “Morning Meeting” is based on the Responsive Classroom model, these meetings help create a sense of belonging and respect, allocating time at the start of the day for students to focus on developing their social-emotional skills using self-awareness and mindfulness practices, alongside team building and time to connect with others.”

The school also offers mindful parenting sessions so that the community can support UWCT students’ mindfulness practices at home. The school’s focus on mindfulness has attracted attention and visits from some of the world’s experts on mindfulness including Buddhist Monk and writer MatthieuRicard – dubbed “the happiest man on Earth”; and B. Alan Wallace, one of the foremost Buddhist scholars and teachers on the planet.

In fact, Wallace – who has a study also referenced in ‘Altered Traits’ – will be at UWCT this November 17th and 18th to deliver a two-day seminar on his four aspects of mental balance framework from 9am to 3pm each day. All UWCT staff will be in attendance, as well as a number of secondary students and parents. For mindful Phuketians, this is an incredible opportunity to learn from a world-class expert, compliments of UWC Thailand and Thanyapura Sports & Wellness hotel. Those interested in attending should contact the school directly via rsvp@uwcthailand.ac.th. Spaces are limited.

 

ศูนย์เรียนรู้การฝึกสติในโรงเรียนแห่งแรกของภูเก็ต เปิดแล้วที่ยูดับเบิลยูซีประเทศไทย

27  สิงหาคม 2561 : โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซีประเทศไทย (UWCT) เริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ในสัปดาห์ที่แล้วพร้อมพื้นที่แห่งใหม่คือศูนย์เรียนรู้การฝึกสติที่ออกแบบเป็นการเฉพาะโดยคำนึงถึงนักเรียนเป็นศูนย์กลางตั้งอยู่บริเวณทางเข้าหลักของโรงเรียนในฐานะสถานศึกษาชั้นนำของภูเก็ตที่ให้ความสำคัญกับการฝึกสติ ซึ่งนักเรียนพนักงานและผู้ปกครองให้ความสนใจเป็นอย่างมาก“การฝึกสติเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของการศึกษาใน UWCT และเราให้ความสำคัญมาโดยตลอดนับตั้งแต่ก่อตั้งโรงเรียนเมื่อปี 2551  เราจึงกำหนดให้พื้นที่ของศูนย์อยู่บริเวณทางเข้าเพื่อเป็นจุดแรกที่ผู้มาเยือนจะได้เยี่ยมชมและรับข้อมูล” เจสันแมคไบรด์ ผู้อำนวยการใหญ่ของยูดับเบิลยูซี ประเทศไทย ได้กล่าวถึงศูนย์เรียนรู้ว่า “สะท้อนอย่างชัดเจนถึงความมุ่งหมายของเราที่จะผนวกการฝึกสติไว้ในโรงเรียนโดยจัดสรรพื้นที่ให้กับการฝึกฝนโดยเฉพาะ”

.

ในแต่ละวันศูนย์จะมีนักเรียนตั้งแต่ชั้นก่อนวัยเรียนจนถึงเกรด 12 มาเรียนรู้การฝึกสติโดยนักเรียนจะได้ฝึก ‘การจดจ่ออยู่กับปัจจุบันด้วยความเมตตาและความใฝ่รู้’ ร่วมกับครูลูซีเคลเลอร์ผู้แนะนำการฝึกสติของโรงเรียน นอกจากนี้นักเรียนประจำที่อยู่ในหอพักของโรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซีประเทศไทยยังได้ใช้พื้นที่ทำสมาธิและฝึกโยคะในช่วงค่ำเพื่อผ่อนคลายก่อนเวลานอนอีกด้วย

.

ครูลูซีเห็นว่า “การฝึกสตินี้ช่วยให้นักเรียนได้พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ทำความเข้าใจให้ชัดเจนขึ้นด้วยมุมมองที่เป็นบวกและตอบสนองอย่างผ่านการใคร่ครวญแล้วนักเรียนจะได้ตระหนักถึงการตอบสนองของตนเองรูปแบบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเข้าใจตนเองจากความใฝ่รู้และความใส่ใจต่อสิ่งที่เป็นในขณะนั้นเขาจะเริ่มเข้าใจว่าเขามีทางเลือกและสามารถใช้เวลาครุ่นคิดก่อนจะตัดสินใจมากกว่าการพยายามตอบสนองทันทีกับความเครียดที่เกิดขึ้นการฝึกสติยังช่วยให้นักเรียนเกิดความเห็นอกเห็นใจในตนเองและพัฒนาไปสู่ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นต่อไป”

.

โดยแท้จริงแล้วหนังสือที่เพิ่งตีพิมพ์ชื่อ ‘Altered Traits-Science Reveals How Meditation Changes Your Mind, Brain and Body (นิสัยที่เปลี่ยนไป – วิทยาศาสตร์เผยผลการเปลี่ยนแปลงจิดใจสมองและร่างกายด้วยการทำสมาธิ)’  ของแดเนียลโกลแมนและริชาร์ด เจ.เดวิดสัน ชี้ว่าการฝึกสมาธิและฝึกสติอย่างต่อเนื่องมีผลเชิงบวกต่อเราถึง ห้า ประการคือ : ช่วยให้เรารับมือกับความเครียดได้ดีขึ้น, ส่งเสริมความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น, ช่วยให้มีสมาธิและจดจ่อ,ช่วยให้ละวางความยึดมั่นถือมั่นในตนเองและให้ผลดีต่อสุขภาพหลายอย่างซึ่งรวมถึงเพิ่มความทนทานต่อความเจ็บปวด, ลดการปวดบวมและฮอร์โมนคอร์ทิซอล (ฮอร์โมนที่หลั่งเมื่อมีความเครียด) และเพิ่มเอนไซม์เทโลเมเรสที่ยืดอายุเซลล์

.

การฝึกสติที่โรงเรียนนานาชาติยูดับเบิลยูซีประเทศไทยไม่เพียงสนับสนุนนักเรียนแต่ยังผนวกอยู่ในวิธีการสอนของครูในโรงเรียนเพราะช่วยให้ครูได้จดจ่อกับปัจจุบันด้วยทัศนคติที่อาทรเมตตาและเปี่ยมด้วยความใฝ่รู้บุคลากรของ UWCT ได้เข้าร่วมการฝึกฝนกับครูลูซีและวิทยากรท่านอื่นเป็นประจำเราสนับสนุนให้ครูสอดแทรกการฝึกสติไว้ในแต่ละวันด้วยช่วงเวลาสงบนิ่งตามความเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งก่อนและหลังเหตุการณ์พิเศษ, การรับรู้ข่าวสารที่สำคัญ, การประเมินผลการเรียนหรือการสอบ

.

ในการดำเนินกิจกรรมเหล่านี้ครูลูซีช่วยสนับสนุนครูท่านอื่นวางแผนการสอนที่แฝงแนวคิดการฝึกสติระหว่างการทำแบบฝึกหัดและการสอบปลายภาคนักเรียนจะได้รับข้อสอบพร้อมกำหนดเวลากิจกรรมการฝึกสติซึ่งจะมีการทำสมาธิก่อนและหลังการสอบเป็นเวลาห้านาทีและสิบห้านาทีเพื่อผ่อนคลายและเสริมสมาธิจากนั้นก็เป็นการปลดปล่อยความเครียดหลังการสอบ

ครูลูซียินดีที่มีศูนย์เรียนรู้เป็นสถานที่สอนแต่ครูยังมีบทบาทช่วยให้การฝึกสติแพร่หลายออกไปทั่วโรงเรียนในทุกเวลาที่เหมาะสมตลอดวันวิธีการอย่างหนึ่งก็คือใช้ช่วงเวลาตอนเช้า “เตรียมพร้อม (Time In)” ในระดับมัธยมและช่วงเวลา ‘ชุมนุมยามเช้า (Morning Meetings)’ในระดับประถม

ครูลูซี อธิบายว่า: “ช่วงเวลา ‘เตรียมพร้อม (Time In)’ เป็นห้วงเวลาเว้นวรรคและพิจารณาสิ่งต่างๆอย่างที่เป็นด้วยความเมตตาและความใฝ่รู้’ ซึ่งเป็นกุศโลบายในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ด้วยการให้นักเรียนใช้เวลาอยู่กับปัจจุบันตระหนักรู้และตอบรับต่อสิ่งที่ดำเนินอยู่การฝึกสมาธิเช่นนี้ทำให้นักเรียนมีพื้นที่ในการพิจารณาสิ่งต่างๆได้อย่างชัดเจนและตัดสินใจในการดำเนินกิจกรรมระหว่างวันอย่างมีสติยิ่งขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ของตัวนักเรียนเท่านั้น แต่ยังให้ผลดีต่อชุมชนโดยรวมเพราะความเมตตาอยู่ในศูนย์กลางของสติ

กิจกรรม “ชุมนุมยามเช้า (Morning Meeting)” มาจากแนวคิดต้นแบบชั้นเรียนที่กระตือรือร้น (Responsive Classroom)  การชุมนุมทำให้เกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มและความเคารพการจัดสรรเวลาเมื่อเริ่มต้นวันให้นักเรียนได้จดจ่อกับการพัฒนาทักษะทางอารมณ์และสังคมโดยใช้การฝึกสมาธิและการฝึกสติควบคู่ไปกับการสนับสนุนการทำงานร่วมกันและการให้เวลาสานสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง”

โรงเรียนยังจัดช่วงเวลาการฝึกสติสำหรับผู้ปกครองด้วยเช่นกันเพื่อให้ผู้ปกครองได้สนับสนุนนักเรียน UWCT ในการฝึกสติที่บ้าน  กิจกรรมการฝึกสติของโรงเรียนได้รับความสนใจและการเยี่ยมเยือนจากผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกสติของโลกแล้วหลายท่านรวมถึงแมทธิวริคาร์ดผู้เป็นทั้งภิกษุและนักเขียนที่ได้รับฉายา “ผู้ชายที่มีความสุขที่สุดในโลก”  และบี. อลันวอลเลซพุทธบริษัทนักวิชาการและวิทยากรที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

วอลเลซ – ผู้ซึ่งมีผลงานที่ได้รับการกล่าวถึงในหนังสือ ‘Altered Traits (นิสัยที่เปลี่ยนไป)’ – จะมาจัดสัมมนาเรื่องสี่มุมมองแห่งกรอบดุลยภาพจิต (four aspects of mental balance framework) ที่ UWCT เป็นเวลาสองวันในวันที่ 17 และ 18 พฤศจิกายนตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงบ่ายสามบุคลากรทุกท่านของ UWCT จะเข้าร่วมการสัมมนาพร้อมทั้งนักเรียนมัธยมและผู้ปกครองจำนวนหนึ่งถือเป็นโอกาสดียิ่งของชาวภูเก็ตที่จะได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับโลกโดยได้รับการสนับสนุนจากยูดับเบิลยูซีประเทศไทยและธัญญปุระรีสอร์ทสุขภาพและกีฬาท่านที่สนใจเข้าร่วมสัมมนาโปรดติดต่อโรงเรียนโดยตรงทางอีเมล์rsvp@uwcthailand.ac.thโปรดทราบว่าที่นั่งมีจำนวนจำกัด